หัวข้อ   “การยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนายก ฯ อภิสิทธิ์”
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นของ
คนกรุงเทพฯ และปริมณฑลพบว่า  ประชาชน ร้อยละ 65.9 เห็นว่าฝ่ายค้านควรยื่นญัตติอภิปราย
ไม่ไว้วางรัฐบาลในช่วงเวลานี้  โดยให้เหตุผลว่า ต้องการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และ
ต้องการให้รัฐบาลชี้แจงในเรื่องต่างๆ อย่างชัดเจน   ในขณะที่ประชาชน ร้อยละ 34.1 เห็นว่า
ไม่ควรยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงเวลานี้  โดยให้เหตุผลว่า บ้านเมืองในขณะนี้มีความ
วุ่นวายพออยู่แล้ว ไม่อยากให้รัฐบาลเสียเวลาในการทำงาน และการเลือกตั้งใหม่ใกล้ถึงแล้ว
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ทั้งนี้เมื่อถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าควรยื่นอภิปราย ฯ ในช่วงเวลานี้พบว่า  เรื่องที่
ต้องการให้มีการอภิปรายมากที่สุดคือ  เรื่องเศรษฐกิจและปากท้องประชาชน เช่น น้ำมันปาล์ม
ขาดตลาด และค่าครองชีพที่สูงขึ้น (ร้อยละ 84.2)   รองลงมาคือ เรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน
โครงการต่างๆ เช่น บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด การประมูลสินค้าเกษตร การก่อสร้างรถไฟฟ้า
สายสีม่วง (ร้อยละ 72.6)  และเรื่องความมั่นคงของประเทศ เช่น ปัญหาพิพาทตามแนวชายแดน
ไทย - กัมพูชา ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 71.6) ตามลำดับ
 
                 ส่วนรัฐมนตรีที่เห็นว่าควรถูกอภิปรายมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ  นายสุเทพ
เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง (ร้อยละ 78.2)   รองลงมา คือ นายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 71.0)   นายกษิต  ภิรมย์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ร้อยละ 51.3)
นางพรทิวา นาคาศัย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ร้อยละ 43.4)   และนายโสภณ ซารัมย์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
คมนาคม (ร้อยละ 34.9) ตามลำดับ
   
                 อย่างไรก็ตามประชาชนร้อยละ 54.1 ไม่เชื่อมั่นว่า ฝ่ายค้านจะสามารถอภิปรายซักฟอกรัฐบาลได้อย่างชัดเจน
ตรงประเด็นโดยมีข้อมูล หลักฐาน ที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเพียงพอ  ขณะที่ร้อยละ 45.9 ระบุว่าเชื่อมั่น
 
                 สำหรับความเชื่อมั่นต่อฝ่ายรัฐบาลนั้น  ประชาชนถึงร้อยละ 72.6 ไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถชี้แจง และ
ตอบกระทู้ของฝ่ายค้านได้อย่างชัดเจน โดยมีข้อมูลหลักฐานมาแก้ต่างได้อย่างมีน้ำหนักน่าเชื่อถือเพียงพอ   มีเพียงร้อยละ
27.4 เท่านั้น ที่ระบุว่าเชื่อมั่น
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความคิดเห็นต่อการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในช่วงเวลานี้

 
ร้อยละ
เห็นว่าฝ่ายค้านควรยื่นญัตติฯ ในช่วงเวลานี้
(โดยให้เหตุผลว่า ต้องการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
  ต้องการให้รัฐบาลชี้แจงในเรื่องต่างๆ อย่างชัดเจน เช่น
  ราคาสินค้าที่มีราคาแพงขึ้น ความไม่โปร่งใสในโครงการต่างๆ
  ความวุ่นวายไม่สงบของบ้านเมือง ฯลฯ)
65.9
เห็นว่าฝ่ายค้านไม่ควรยื่นญัตติฯ ในช่วงเวลานี้
(โดยให้เหตุผลว่า บ้านเมืองในขณะนี้มีความวุ่นวายพออยู่แล้ว
  ไม่อยากให้รัฐบาลเสียเวลาในการทำงาน การเลือกตั้งใหม่
  ใกล้ถึงแล้ว ฯลฯ)
34.1
 
 
             2. เรื่องที่ต้องการให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล  (ถามเฉพาะผู้ที่ตอบว่าควรยื่นญัตติอภิปรายฯ
                 ในช่วงเวลานี้)


 
ร้อยละ
เรื่องเศรษฐกิจและปากท้องประชาชน (ปัญหาสินค้าอุปโภค
บริโภค เช่น น้ำมันปาล์มขาดตลาด และค่าครองชีพที่สูงขึ้น)
84.2
เรื่องการทุจริตคอร์รัปชันโครงการต่างๆ (เช่น บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด,
การประมูลสินค้าเกษตร, การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง)
72.6
เรื่องความมั่นคงของประเทศ (เช่น ปัญหาพิพาทตามแนวชายแดน
ไทย - กัมพูชา, ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้)
71.6
เรื่องปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร (เช่น ปัญหาหนี้สิน, ที่ดินทำกิน
และราคาพืชผลการเกษตร)
58.1
เรื่องปัญหาสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด, ปัญหาอาชญากรรม
57.0
เรื่องการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในช่วงเดือน
เมษายน - พฤษภาคม 2553
49.3
อื่นๆ อาทิ การเตรียมการป้องกันภัยพิบัติต่างๆ เรื่อง 3G ปัญหาหนี้
นอกระบบ ฯลฯ
3.2
 
 
             3. รัฐมนตรีที่ควรถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้  (ถามเฉพาะผู้ที่ตอบว่าควรยื่นญัตติอภิปรายฯ
                 ในช่วงเวลานี้)


 
ร้อยละ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง
78.2
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
71.0
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
51.3
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
43.4
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
34.9
นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
34.0
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
33.3
นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
21.0
นายจุติ ไกรกฤษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร
17.7
คนอื่นๆ  อาทิ
  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
2.8
 
 
             4. ความเชื่อมั่นที่มีต่อฝ่ายค้าน ว่าจะสามารถอภิปรายซักฟอกรัฐบาลได้อย่างชัดเจนตรงประเด็น
                 โดยมีข้อมูล หลักฐาน ที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเพียงพอ พบว่า

 
ร้อยละ
ไม่เชื่อมั่น
โดยระบุว่า - ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 10.9
  - ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 43.2
54.1
เชื่อมั่น
โดยระบุว่า - เชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ  9.0
  - เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ 36.9
45.9
 
 
             5. ความเชื่อมั่นที่มีต่อฝ่ายรัฐบาล ว่าจะสามารถชี้แจง ตอบกระทู้ของฝ่ายค้านได้อย่างชัดเจน
                 โดยมีข้อมูลหลักฐานมาแก้ต่างได้อย่างมีน้ำหนักน่าเชื่อถือเพียงพอ พบว่า

 
ร้อยละ
ไม่เชื่อมั่น
โดยระบุว่า - ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 21.9
  - ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 50.7
72.6
เชื่อมั่น
โดยระบุว่า - เชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ  3.2
  - เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ 24.2
27.4
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  เกี่ยวกับการยื่นญัตติอภิปราย
ไม่ไว้วางใจรัฐบาล ของฝ่ายค้านที่คาดว่าจะมีการยื่นต่อสภาในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ เพื่อสะท้อนให้สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติส่วนรวมต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณล ด้วยวิธีการ
สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  โดยสุ่มจากเขตการปกครองชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก จำนวน
ทั้งสิ้น 25 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสามวา ดอนเมือง ดุสิต ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางขุนเทียน บางเขน บางนา
บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ลาดกระบัง สวนหลวง สะพานสูง
สาทร และสายไหม และจังหวัดในเขตปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี และปทุมธานี ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,035 คน  เป็นเพศชาย
ร้อยละ 51.5 และเพศหญิงร้อยละ 48.5
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน  ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)  และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุ
คำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและ
ประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  18 - 20 กุมภาพันธ์ 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 22 กุมภาพันธ์ 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
533
51.5
             หญิง
502
48.5
รวม
1,035
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
261
25.2
             26 – 35 ปี
280
27.1
             36 – 45 ปี
252
24.3
             46 ปีขึ้นไป
242
23.4
รวม
1,035
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
578
55.8
             ปริญญาตรี
397
38.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
60
5.8
รวม
1,035
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
110
10.7
             พนักงาน/ลูกจ้่าง บริษัทเอกชน
286
27.7
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
292
28.2
             รับจ้างทั่วไป
171
16.5
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
58
5.5
             อื่นๆ อาทิ เกษตรกรรม อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ
118
11.4
รวม
1,035
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776